“There’s No Place Like Home.” เพราะไม่มีที่ใดสุขใจเท่าบ้านเรา “บ้าน” จึงเป็นความฝันของคนหลายคน แต่หลังจากเลือกบ้านที่ถูกใจ สไตล์ที่ชอบ และทำเลที่ต้องการได้แล้ว เรื่องชวนปวดหัวตามมาเห็นจะหนีไม่พ้นการขอสินเชื่อบ้าน นั่นหมายถึงการกู้ยืมเงินก้อนใหญ่จากธนาคาร ซึ่งอาจจะเป็นก้อนที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตด้วย และด่านนี้เองที่ทำให้หลายคนกุมขมับพร้อมกับคำถามร้อยแปด “ต้องเริ่มต้นอย่างไร?” “เลือกสินเชื่อบ้านอย่างไร?” “เตรียมตัวอย่างไรบ้าง?” และอีกมากมาย
แน่นอนว่าการวางแผนซื้อบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ แต่ถ้าเรามีความรู้ เตรียมตัวก่อนอย่างดี การอนุมัติสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป และการผ่อนชำระที่แสนยาวนานนั้นอาจจะไม่ได้เป็นภาระอย่างคิด
มาดูกันว่า 5 เรื่องที่เราต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อบ้านมีอะไรบ้าง

1.รู้เรื่องสินเชื่อบ้านเบื้องต้น

สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อบ้าน เมื่อถึงเวลาศึกษาข้อมูลเพื่อขอสินเชื่อ หากคุณไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อมาก่อนอาจรู้สึกว่าการขอสินเชื่อเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อบ้าน หมายถึง เงินกู้ที่ทางสถาบันการเงินปล่อยให้สำหรับการซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย โดยจำนวนเงินที่ผู้ขอกู้จะได้ตามที่ธนาคารประเมินให้จะเรียกว่า “วงเงิน” และเมื่อถึงคราวที่ต้องชำระเงินคืน ก็จะมี “เงินต้น” หรือจำนวนเงินจริงๆ ที่ผู้กู้ยืมไป กับ “ดอกเบี้ย” หรือเงินส่วนที่ธนาคารคิดเพิ่มเติมที่ผู้กู้ต้องชำระเป็น “งวดๆ” ซึ่งโดยมากรอบงวด คือ ทุกๆ 1 เดือน ตลอด “ระยะเวลากู้” ซึ่งยาวนานตั้งแต่ 10 – 30 ปี หรือสูงสุดถึง 40 ปี
นอกจากนี้ ยังมีศัพท์เกี่ยวกับการกู้สินเชื่อบ้านอีกหลายคำที่มือใหม่ควรทำความเข้าใจก่อนเพื่อให้คุณสามารถดำเนินการขอสินเชื่อไปได้อย่างราบเข้าใจและราบรื่น

2.รู้สุขภาพการเงิน

สถานะการเงินมีผลต่อการขอสินเชื่ออย่างมาก รายได้และภาระหนี้สามารถใช้ประเมินได้ว่าคุณจะได้วงเงินสินเชื่อเท่าไหร่ ต้องผ่อนชำระต่อเดือนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งโดยทั่วไปเงินที่ใช้ผ่อนชำระรายเดือนไม่ควรเกิน 30 – 40% ของรายได้ (ขึ้นอยู่กับอาชีพและความมั่นคงของรายได้)
การตรวจสอบความพร้อมฐานะทางการเงินสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้ดังนี้ ประเมินรายได้ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน สินเชื่อที่กำลังผ่อนชำระ รวมถึงหนี้คงค้างบัตรเครดิต โดยสามารถยื่นขอตรวจสอบข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโร (Credit Bureau) เพื่อแสดงหนี้สินปัจจุบัน และประวัติการผิดชำระเพื่อให้เห็นภาพรวมเครดิตได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถคำนวณสินเชื่อเพื่อประมาณการยอดผ่อนต่อเดือนสำหรับวางแผนก่อนได้
นอกจาก ‘ตรวจสุขภาพการเงิน’ แล้ว การออมเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ค่าตกแต่งบ้าน ค่าส่วนกลาง ค่าประกัน การที่มีเงินดาวน์นอกจากจะสามารถเพิ่มโอกาสการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ยังช่วยลดภาระต่อตัวเองได้อีกด้วย

3.รู้เรื่องดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย คือ เงินที่ผู้กู้จะต้องชำระให้กับผู้ให้กู้เพิ่มเติมจากเงินต้นที่กู้มา สำหรับสินเชื่อบ้าน ถือเป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด และมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยที่ต่างจากสินเชื่อประเภทอื่น เพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถผ่อนชำระหนี้ซึ่งอาจเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดก้อนนี้ได้
วิธีคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อบ้านนั้นโดยทั่วไปธนาคารจะใช้วิธีการคำนวณแบบ “ลดต้นลดดอก” (Effective Rate) หมายถึง การคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินต้นที่เหลืออยู่ เท่ากับว่า เมื่อชำระเงินกู้ไปเรื่อยๆ ยอดเงินต้นก็จะลดลง ส่งผลให้สัดส่วนดอกเบี้ยที่จ่ายลดลงในแต่ละงวด ดังนั้น หากคุณชำระเงินเกินงวดเพื่อตัดเงินต้นเป็นประจำ ก็จะช่วยให้คุณปลดหนี้ได้ไวขึ้น
ทั้งนี้ วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารก็จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดตัวเลขแน่นอน มักจะกำหนดในช่วง 1-3 ปีแรกในการผ่อน ทำให้ทราบจำนวนที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้า และควบคุมค่าใช้จ่ายได้
  • อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดแต่ละธนาคาร ปรับขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดการเงิน ไม่สามารถกำหนดได้ และอาจจะแตกต่างกันขึ้นกับความเสี่ยงของผู้กู้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมักจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นหลัก
เมื่อจะกู้สินเชื่อบ้านจึงควรพิจารณาเลือกวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารเงิน

4.รู้จักผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

เนื่องจากสถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่หลากหลายประเภทเพื่อตอบโจทย์ทุกเรื่องบ้าน โดยสินเชื่อบ้านโดยทั่วๆ ไป เช่น สินเชื่อเพื่อซื้อสร้างที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อต่อเติม/ซ่อมแซมบ้าน หรือสินเชื่อเพื่อตกแต่งหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ สำหรับแต่ละสถาบันการเงิน ก็มีโครงการสินเชื่อบ้านที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับโจทย์ของผู้กู้ หรือแผนการชำระเงินของผู้กู้ เพราะโครงการสินเชื่อแต่ละโครงการจะมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกัน เช่น เงื่อนไข โปรโมชั่น วิธีคิดอัตราดอกเบี้ย การลดหย่อนค่าธรรมเนียมบางประการ เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถนำแต่ละโครงการมาเปรียบเทียบความคุ้มค่าได้

5.รู้จักวิธีบริหารหนี้สินและการผ่อนชำระ

การรู้จักบริหารหนี้สินถือเป็นวินัยข้อสำคัญ เพราะการชำระเงินกู้ให้ตรงเวลาไม่ได้เพียงแสดงถึงความรับผิดชอบของผู้กู้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการตัดปัญหาเรื่องประวัติติดค้างการชำระหนี้ในเครดิตบูโร ซึ่งสามารถส่งผลต่อความยากง่ายหรือโอกาสอนุมัติเงินกู้ นอกจากนี้ อย่างไรการชำระหนี้ตรงเวลาก็เป็นผลดีต่อผู้กู้เองอยู่แล้วที่จะทำให้ปลดหนี้สินลงได้ตามระยะเวลาผ่อนชำระ
สำหรับเทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดนั้น คุณอาจจัดทำแผนรายจ่ายประจำเดือนว่าในแต่ละเดือนมีรายจ่ายจำเป็นอะไรบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่าค่าผ่อนชำระหนี้รายเดือน ซึ่งคุณสามารถเลือกช่องทางชำระหนี้ได้หลายช่องทางตามสะดวก หรือจะเลือกวิธีที่สะดวกและได้ผลมากที่สุด คือ ตั้งระบบตัดบัญชีเพื่อจ่ายค่างวดในแต่ละเดือนแบบอัติโนมัติก็ได้

สรุป

ปัญหาเรื่องสินเชื่อบ้านที่เคยคิดว่ายุ่งยากซับซ้อน เพียงค่อยๆ ทำความเข้าใจจากเรื่องพื้นฐานก่อนว่าอะไรคืออะไร เตรียมตัวด้านการเงินอย่างไร รู้จักเรื่องดอกเบี้ยและประเภทสินเชื่อ ตลอดจนการวิธีผ่อนชำระ คุณก็พร้อมที่จะเรียนรู้ขั้นตอนต่อไปสำหรับการขอกู้สินเชื่อได้ไม่ยาก ทั้งนี้ หากคุณยังมีข้อสงสัย ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นขอสินเชื่ออย่างไร ก็สามารถสอบถามกับทางธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อบ้านโดยตรงได้ เพื่อให้ “อยากมีบ้านของตัวเอง” ไม่ใช่แค่ “อยาก” อีกต่อไป
cr.ghbank

5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อบ้าน

“There’s No Place Like Home.” เพราะไม่มีที่ใดสุขใจเท่าบ้านเรา “บ้าน” จึงเป็นความฝันของคนหลายคน แต่หลังจากเลือกบ้านที่ถูกใจ สไตล์ที่ชอบ และทำเลที่ต้องการได้แล้ว เรื่องชวนปวดหัวตามมาเห็นจะหนีไม่พ้นการขอสินเชื่อบ้าน นั่นหมายถึงการกู้ยืมเงินก้อนใหญ่จากธนาคาร ซึ่งอาจจะเป็นก้อนที่ใหญ่ที่สุดในชีวิตด้วย และด่านนี้เองที่ทำให้หลายคนกุมขมับพร้อมกับคำถามร้อยแปด “ต้องเริ่มต้นอย่างไร?” “เลือกสินเชื่อบ้านอย่างไร?” “เตรียมตัวอย่างไรบ้าง?” และอีกมากมาย
แน่นอนว่าการวางแผนซื้อบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ แต่ถ้าเรามีความรู้ เตรียมตัวก่อนอย่างดี การอนุมัติสินเชื่อก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป และการผ่อนชำระที่แสนยาวนานนั้นอาจจะไม่ได้เป็นภาระอย่างคิด
มาดูกันว่า 5 เรื่องที่เราต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อบ้านมีอะไรบ้าง

1.รู้เรื่องสินเชื่อบ้านเบื้องต้น

สำหรับมือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อบ้าน เมื่อถึงเวลาศึกษาข้อมูลเพื่อขอสินเชื่อ หากคุณไม่มีความรู้พื้นฐานด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับสินเชื่อมาก่อนอาจรู้สึกว่าการขอสินเชื่อเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ สินเชื่อบ้าน หมายถึง เงินกู้ที่ทางสถาบันการเงินปล่อยให้สำหรับการซื้อ/สร้างที่อยู่อาศัย โดยจำนวนเงินที่ผู้ขอกู้จะได้ตามที่ธนาคารประเมินให้จะเรียกว่า “วงเงิน” และเมื่อถึงคราวที่ต้องชำระเงินคืน ก็จะมี “เงินต้น” หรือจำนวนเงินจริงๆ ที่ผู้กู้ยืมไป กับ “ดอกเบี้ย” หรือเงินส่วนที่ธนาคารคิดเพิ่มเติมที่ผู้กู้ต้องชำระเป็น “งวดๆ” ซึ่งโดยมากรอบงวด คือ ทุกๆ 1 เดือน ตลอด “ระยะเวลากู้” ซึ่งยาวนานตั้งแต่ 10 – 30 ปี หรือสูงสุดถึง 40 ปี
นอกจากนี้ ยังมีศัพท์เกี่ยวกับการกู้สินเชื่อบ้านอีกหลายคำที่มือใหม่ควรทำความเข้าใจก่อนเพื่อให้คุณสามารถดำเนินการขอสินเชื่อไปได้อย่างราบเข้าใจและราบรื่น

2.รู้สุขภาพการเงิน

สถานะการเงินมีผลต่อการขอสินเชื่ออย่างมาก รายได้และภาระหนี้สามารถใช้ประเมินได้ว่าคุณจะได้วงเงินสินเชื่อเท่าไหร่ ต้องผ่อนชำระต่อเดือนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งโดยทั่วไปเงินที่ใช้ผ่อนชำระรายเดือนไม่ควรเกิน 30 – 40% ของรายได้ (ขึ้นอยู่กับอาชีพและความมั่นคงของรายได้)
การตรวจสอบความพร้อมฐานะทางการเงินสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ได้ดังนี้ ประเมินรายได้ ตรวจสอบค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน สินเชื่อที่กำลังผ่อนชำระ รวมถึงหนี้คงค้างบัตรเครดิต โดยสามารถยื่นขอตรวจสอบข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลเครดิตบูโร (Credit Bureau) เพื่อแสดงหนี้สินปัจจุบัน และประวัติการผิดชำระเพื่อให้เห็นภาพรวมเครดิตได้ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถคำนวณสินเชื่อเพื่อประมาณการยอดผ่อนต่อเดือนสำหรับวางแผนก่อนได้
นอกจาก ‘ตรวจสุขภาพการเงิน’ แล้ว การออมเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะการซื้อบ้านนั้นมีค่าใช้จ่ายอื่นๆตามมาอีกมากมาย เช่น ค่าตกแต่งบ้าน ค่าส่วนกลาง ค่าประกัน การที่มีเงินดาวน์นอกจากจะสามารถเพิ่มโอกาสการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ยังช่วยลดภาระต่อตัวเองได้อีกด้วย

3.รู้เรื่องดอกเบี้ย

ดอกเบี้ย คือ เงินที่ผู้กู้จะต้องชำระให้กับผู้ให้กู้เพิ่มเติมจากเงินต้นที่กู้มา สำหรับสินเชื่อบ้าน ถือเป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด และมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยที่ต่างจากสินเชื่อประเภทอื่น เพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถผ่อนชำระหนี้ซึ่งอาจเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดก้อนนี้ได้
วิธีคำนวณดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อบ้านนั้นโดยทั่วไปธนาคารจะใช้วิธีการคำนวณแบบ “ลดต้นลดดอก” (Effective Rate) หมายถึง การคิดดอกเบี้ยตามจำนวนเงินต้นที่เหลืออยู่ เท่ากับว่า เมื่อชำระเงินกู้ไปเรื่อยๆ ยอดเงินต้นก็จะลดลง ส่งผลให้สัดส่วนดอกเบี้ยที่จ่ายลดลงในแต่ละงวด ดังนั้น หากคุณชำระเงินเกินงวดเพื่อตัดเงินต้นเป็นประจำ ก็จะช่วยให้คุณปลดหนี้ได้ไวขึ้น
ทั้งนี้ วิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารก็จะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
  • อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการกำหนดตัวเลขแน่นอน มักจะกำหนดในช่วง 1-3 ปีแรกในการผ่อน ทำให้ทราบจำนวนที่ต้องจ่ายอย่างแน่นอน สามารถวางแผนการเงินล่วงหน้า และควบคุมค่าใช้จ่ายได้
  • อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการเปลี่ยนแปลงตามข้อกำหนดแต่ละธนาคาร ปรับขึ้นลงตามสถานการณ์ตลาดการเงิน ไม่สามารถกำหนดได้ และอาจจะแตกต่างกันขึ้นกับความเสี่ยงของผู้กู้ สำหรับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมักจะใช้อัตราดอกเบี้ย MRR และ MLR เป็นหลัก
เมื่อจะกู้สินเชื่อบ้านจึงควรพิจารณาเลือกวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความสามารถในการบริหารเงิน

4.รู้จักผลิตภัณฑ์สินเชื่อ

เนื่องจากสถาบันการเงินมีสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่หลากหลายประเภทเพื่อตอบโจทย์ทุกเรื่องบ้าน โดยสินเชื่อบ้านโดยทั่วๆ ไป เช่น สินเชื่อเพื่อซื้อสร้างที่อยู่อาศัย สินเชื่อเพื่อต่อเติม/ซ่อมแซมบ้าน หรือสินเชื่อเพื่อตกแต่งหรือซื้อเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
นอกจากนี้ สำหรับแต่ละสถาบันการเงิน ก็มีโครงการสินเชื่อบ้านที่หลากหลายเพื่อให้เหมาะกับโจทย์ของผู้กู้ หรือแผนการชำระเงินของผู้กู้ เพราะโครงการสินเชื่อแต่ละโครงการจะมีลักษณะที่โดดเด่นแตกต่างกัน เช่น เงื่อนไข โปรโมชั่น วิธีคิดอัตราดอกเบี้ย การลดหย่อนค่าธรรมเนียมบางประการ เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถนำแต่ละโครงการมาเปรียบเทียบความคุ้มค่าได้

5.รู้จักวิธีบริหารหนี้สินและการผ่อนชำระ

การรู้จักบริหารหนี้สินถือเป็นวินัยข้อสำคัญ เพราะการชำระเงินกู้ให้ตรงเวลาไม่ได้เพียงแสดงถึงความรับผิดชอบของผู้กู้เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการตัดปัญหาเรื่องประวัติติดค้างการชำระหนี้ในเครดิตบูโร ซึ่งสามารถส่งผลต่อความยากง่ายหรือโอกาสอนุมัติเงินกู้ นอกจากนี้ อย่างไรการชำระหนี้ตรงเวลาก็เป็นผลดีต่อผู้กู้เองอยู่แล้วที่จะทำให้ปลดหนี้สินลงได้ตามระยะเวลาผ่อนชำระ
สำหรับเทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดนั้น คุณอาจจัดทำแผนรายจ่ายประจำเดือนว่าในแต่ละเดือนมีรายจ่ายจำเป็นอะไรบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต และแน่นอนว่าค่าผ่อนชำระหนี้รายเดือน ซึ่งคุณสามารถเลือกช่องทางชำระหนี้ได้หลายช่องทางตามสะดวก หรือจะเลือกวิธีที่สะดวกและได้ผลมากที่สุด คือ ตั้งระบบตัดบัญชีเพื่อจ่ายค่างวดในแต่ละเดือนแบบอัติโนมัติก็ได้

สรุป

ปัญหาเรื่องสินเชื่อบ้านที่เคยคิดว่ายุ่งยากซับซ้อน เพียงค่อยๆ ทำความเข้าใจจากเรื่องพื้นฐานก่อนว่าอะไรคืออะไร เตรียมตัวด้านการเงินอย่างไร รู้จักเรื่องดอกเบี้ยและประเภทสินเชื่อ ตลอดจนการวิธีผ่อนชำระ คุณก็พร้อมที่จะเรียนรู้ขั้นตอนต่อไปสำหรับการขอกู้สินเชื่อได้ไม่ยาก ทั้งนี้ หากคุณยังมีข้อสงสัย ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มต้นขอสินเชื่ออย่างไร ก็สามารถสอบถามกับทางธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านสินเชื่อบ้านโดยตรงได้ เพื่อให้ “อยากมีบ้านของตัวเอง” ไม่ใช่แค่ “อยาก” อีกต่อไป
cr.ghbank

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น