ประเทศไทยเป็นเมืองร้อน ไม่ว่าจะฤดูไหนก็หนีไม่พ้น โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิอาจพุ่งสูงกว่า 40 องศาเลยทีเดียว ทำให้หลายคนเลือกที่จะดับร้อนด้วยการหลบอยู่ภายในบ้านพร้อมกับเปิดแอร์เย็นฉ่ำ แต่รู้หรือไม่…ว่าการแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะ “บ้าน” และ “แสงแดด” เป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงกลางวันแสงแดดที่ส่องกระทบผนังและหลังคาเป็นเวลานาน จะมีการสะสมความร้อนและนำความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านผ่านวัสดุต่างๆ ดังนั้น จึงขอแนะนำเทคนิคง่ายๆ ในการดับร้อนให้บ้านแบบยั่งยืน ด้วยการเลือก วัสดุกันร้อน ที่ช่วยลดและป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน เพื่อให้บ้านเย็นสบายและน่าอยู่ยิ่งขึ้น
เทคนิคเลือก วัสดุกันร้อน
การเลือกวัสดุในการสร้างบ้าน หรือปรับบ้านให้เย็นสบายไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก โดยเฉพาะปัจจุบันนี้มีนวัตกรรมวัสดุก่อสร้างหลากหลายรูปแบบที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันความร้อน ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้กับบ้านของตัวเองได้ จึงขอแนะนำวิธีการเลือก 3 วัสดุยอดฮิตที่ช่วยทำหน้าที่ลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ดังนี้
ฉนวนกันความร้อน นับเป็นปราการด่านแรกที่นอกจากจะช่วยสกัดกั้นความร้อนจากหลังคาไม่ให้ถ่ายเทมาสู่ภายในบ้านแล้วยังสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 95% ฉนวนกันความร้อนสามารถติดตั้งได้ตั้งแต่บริเวณใต้หลังคา บนฝ้าเพดาน และภายในผนังบ้าน ซึ่งผนังบ้านเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ความร้อนจะส่งผ่านเข้าสู่ตัวบ้าน โดยเฉพาะด้านทิศตะวันตก ซึ่งในช่วงบ่ายจะเป็นเวลาที่ร้อนที่สุด ดังนั้นจึงควรติดตั้งฉนวนกันความร้อนสำหรับผนังเพื่อช่วยสกัดกั้นความร้อนที่จะแผ่เข้ามาด้วย
ขั้นตอนการติดตั้งฉนวนกันร้อน
ในปัจจุบัน การติดตั้งฉนวนกันความร้อนบริเวณฝ้าเพดานเป็นวิธีที่เจ้าของบ้านหลายท่านนิยม เนื่องจากติดตั้งได้ง่ายและติดตั้งได้ทั้งบ้านใหม่และบ้านเก่า ทั้งยังสามารถติดตั้งได้ตั้งแต่ฝ้าแบบทีบาร์และฝ้าแบบฉาบเรียบ นอกจากนี้ยังมีความหนาให้เลือกหลากหลาย
คุณสมบัติฉนวนกันร้อนที่ดี
เจ้าของบ้านหลายท่านอาจสงสัยเกี่ยวกับการเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนให้เหมาะสมกับบ้านของตนเอง เคล็ดลับในการเลือกใช้ฉนวนคือ ควรเลือกฉนวนที่มีคุณสมบัติ ค่าการต้านทานความร้อนสูง (ค่า R) ค่าการนำพาความร้อนต่ำ (ค่า K) รวมไปถึงความหนาของฉนวนก็มีผลต่อการป้องกันความร้อนเช่นกัน เพราะฉนวนที่มีความหนามาก ก็จะยิ่งมีประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนที่มีความหนาน้อย สำหรับบ้านชั้นเดียวแนะนำให้ใช้ฉนวนกันร้อน ขนาด 6 นิ้ว ที่สามารถกันความร้อนได้ดีถึง 4 เท่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้ดีกว่า และบ้าน 2 ชั้นทั่วไป สามารถติดตั้งฉนวนที่มีความหนา 3 นิ้วได้ตามปกติ ซึ่งสามารถกันความร้อนได้ดีถึง 4 เท่าและยังสามารถช่วยให้ประหยัดไฟได้ถึง 47% เมื่อเทียบกับบ้านที่ไม่ได้ติดฉนวน นอกจากปัจจัยเรื่องความหนา ของฉนวนที่ควรเลือกให้เหมาะสมแล้ว ควรเลือกประเภทที่ผลิตจากใยแก้ว เพราะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังเป็นวัสดุไม่ลามไฟอีกด้วย
บ้านที่ติดตั้งฝ้าชายคาที่มีรูหรือช่องให้อากาศระบายผ่านเข้าออกได้
ฝ้าชายคา และฝ้าภายในบ้าน เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้บ้านเย็น เคล็ดลับในการเลือกฝ้า คือเลือกฝ้าที่มีค่าการนำความร้อนต่ำ และมีความยืดหยุ่น แข็งแรง ทนน้ำและทนชื้นได้ดี ไม่มีใยหินที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สำหรับภายนอกบ้านแนะนำให้เลือกใช้ ฝ้าชายคา ที่มีรูหรือช่องให้อากาศระบายผ่านเข้าออกได้ เพื่อรับลมเย็นและระบายความร้อนที่สะสมใต้โถงหลังคาที่โดนแดดมาตลอดทั้งวัน โดยปัจจุบันมีฝ้ารุ่นใหม่ ที่มีรูระบายอากาศสำเร็จจากโรงงานและมีตาข่ายไฟเบอร์กลาสคุณภาพสูงที่ช่วยระบายความร้อน ติดตั้งง่ายและป้องกันแมลงเข้าสู่ตัวบ้าน เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้เจ้าของบ้านนำไปช่วยลดความร้อนให้กับบ้าน
ฝ้าชายคารุ่นรูระบายอากาศ
สำหรับความร้อนบางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ภายใต้โถงหลังคา ฝ้าภายในบ้าน เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่สกัดกั้น ความร้อนเข้าสู่ภายในห้องได้ จึงควรเลือกใช้ฝ้าที่กันความร้อนได้ดีหรือมีค่าการนำพาความร้อนต่ำ เพื่อช่วยกันความร้อนจากโถงหลังคาเข้าสู่ตัวบ้าน ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อใช้ร่วมกับฉนวนกันร้อนใต้หลังคาและแผ่นสะท้อนความร้อน ซึ่งจะทำให้สามารถช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศลงได้ถึง 23% – 45%
บ้านที่ติดตั้งฝ้าภายในบ้าน เพื่อช่วยสกัดกั้นความร้อนเข้าสู่ภายในห้อง
ส่วนเจ้าของคอนโดและทาวเฮ้าส์ สามารถเลือกใช้ฝ้าทีบาร์ ที่สามารถเปลี่ยนได้ง่าย และใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดร้อนให้บ้าน
ผนัง หรือตัวบ้าน เป็นอีกหนึ่งส่วนของบ้านที่ต้องปะทะแสงแดดตลอดทั้งวัน ทำให้เกิดการสะสมความร้อนสูง จึงเป็นส่วนสำคัญของบ้านที่ควรป้องกันความร้อน ควรเลือกใช้วัสดุที่ไม่สะสมความร้อน อย่าง อิฐมวลเบา เนื่องจากอิฐมวลเบามีลักษณะเป็นฟองอากาศ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ทำให้เป็นสามารถกันความร้อนได้ดีกว่าอิฐมอญ 4-8 เท่า และมีน้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ 2 เท่า จึงช่วยประหยัดพลังงาน
อิฐมวลเบา ที่ใช้ในการก่อสร้าง
ลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 30% เมื่อเทียบกับบ้านที่ไม่ได้ใช้อิฐมวลเบา นอกจากนี้ยังมีขนาดหลากหลายให้เลือกใช้งาน โดยงานก่อสร้างทั่วไปมักใช้ขนาด 7.5 ถึง 15 ซม. เคล็ดลับการเลือกอิฐมวลเบา ควรเลือกวัสดุจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ มีความแข็งแรง ไม่เปราะ เนื้อวัสดุมีการกระจายตัวของฟองอากาศอย่างสม่ำเสมอและเป็นระเบียบ
ขั้นตอนการก่อผนัง
ผนังที่ใช้อิฐมวลเบาในการก่อสร้าง
เจ้าของบ้านหลายคนอาจกังวลในเรื่องของความแข็งแรงของอิฐมวลเบา ที่มีเนื้อวัสดุเป็นฟองอากาศกระจายตัว ซึ่งเนื้อวัสดุที่เป็นฟองอากาศเหล่านี้ไม่ได้มีลักษณะเป็นรูพรุนที่ทะลุถึงกันหรือรูกลวง แต่เป็นฟองอากาศขนาดเล็ก
ที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอและเป็นระเบียบ ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านอย่างดี เพราะช่องอากาศจะทำหน้าที่ลดทอนพลังงานความร้อนเอาไว้ ไม่ให้ผ่านจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้านได้ และมีความแข็งแรงสามารถรับแรงกดหรือแรงอัดได้เป็นอย่างดีจากการทดสอบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทดสอบแล้วว่า 1 ตร.ซม. สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 35 กก. หรือขนาด 20*60*10 ซม. สามารถรับแรงกดได้ถึง 21 ตัน นอกจากนี้ผนังอิฐมวลเบายังสามารถ เจาะ ตอก ยึดแขวนสิ่งของต่างๆบนผนังได้อย่างมั่นใจ เพียงแค่ทำงานให้ถูกต้อง และเลือกขนาดพุกให้เหมาะสมกับประเภทของสิ่งของที่จะแขวน
ที่กระจายตัวอย่างสม่ำเสมอและเป็นระเบียบ ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านอย่างดี เพราะช่องอากาศจะทำหน้าที่ลดทอนพลังงานความร้อนเอาไว้ ไม่ให้ผ่านจากภายนอกเข้าสู่ภายในบ้านได้ และมีความแข็งแรงสามารถรับแรงกดหรือแรงอัดได้เป็นอย่างดีจากการทดสอบโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ทดสอบแล้วว่า 1 ตร.ซม. สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 35 กก. หรือขนาด 20*60*10 ซม. สามารถรับแรงกดได้ถึง 21 ตัน นอกจากนี้ผนังอิฐมวลเบายังสามารถ เจาะ ตอก ยึดแขวนสิ่งของต่างๆบนผนังได้อย่างมั่นใจ เพียงแค่ทำงานให้ถูกต้อง และเลือกขนาดพุกให้เหมาะสมกับประเภทของสิ่งของที่จะแขวน
นอกจากการเลือก 3 วัสดุที่ช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านแล้ว เจ้าของบ้านที่กำลังสร้างบ้าน หรือต้องการปรับบ้านให้เย็นสบายน่าอยู่ สามารถเลือกใช้วัสดุแบบครบเป็นระบบนวัตกรรมบ้านเย็น ผู้ที่สนใจสามารถรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี ที่เอสซีจี เอ็กซพีเรียนซ์ เอสซีจี โฮมโซลูชั่น
ขอขอบคุณบทความดีดีจาก SCG
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น