เมื่ออยากมีบ้าน ไม่ว่าจะซื้อหรือสร้างในทุกวันนี้ การขอสินเชื่อคือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ความฝันหรือความต้องการของคุณเป็นจริง แต่อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สินเชื่อบ้านคือภาระการผ่อนที่หนักด้วยจำนวนเงินผ่อนและระยะเวลาผ่อนที่ยาวนาน การจะเลือกผ่อนบ้านกับสถาบันการเงินใดจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี ว่าที่ใดเหมาะกับคุณ
ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อบ้านในปัจจุบันมีอยู่แทบทุกธนาคาร ซึ่งสามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ ธนาคารรัฐ และธนาคารเอกชน (ธนาคารพาณิชย์) และเนื่องจากระบบการบริหารงานที่แตกต่างกันไป ทำให้นโยบาย การดำเนินงาน การบริการ จนไปถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อบ้านที่มีมูลค่าสูง มีลักษณะที่แตกต่างเป็นจุดเด่นจุดด้อยของธนาคารแต่ละประเภท

ธนาคารรัฐ

ธนาคารรัฐคือสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารและดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น หากรัฐบาลต้องการให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น รัฐบาลก็จะผลักดันนโยบายผ่านธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือหากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น รัฐบาลก็จะให้ธนาคารรัฐเหล่านี้ปล่อยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

ลักษณะเด่น

สำหรับการปล่อยกู้และผ่อนสินเชื่อบ้าน รัฐบาลก็มีธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับเรื่องบ้าน คือธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งมาจากนโยบายของรัฐที่ออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนได้มีบ้าน แม้จะมีรายได้น้อย ทำให้ธนาคารสำหรับบ้านมีข้อได้เปรียบจากนโยบายดังกล่าวและการสนับสนุนจากรัฐ เช่น
  • คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำ
  • ให้ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน
  • มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • อนุมัติสินเชื่อง่าย
  • สินเชื่อบ้านให้เลือกหลากหลาย
ลักษณะเด่นข้างต้นของธนาคารรัฐสำหรับเรื่องบ้านเป็นผลมาจากความมั่นคงที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงการคลัง และด้วยวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการก่อตั้งเพื่อให้ประชาชนมีบ้าน จึงมีความเชี่ยวชาญที่มากกว่า อีกทั้งยังได้รับการอุดหนุนดอกเบี้ยจากรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในเรตต่ำ

ธนาคารเอกชน

ธนาคารเอกชนมีระบบการบริหารด้วยตนเองไม่ได้อิงหรืออยู่ในสังกัดขององค์กรใด การตัดสินใจหรือการออกนโยบาย รวมทั้ง การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือการปล่อยกู้ก็มักจะออกแบบตามตลาดหรือความต้องการของลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก

ลักษณะเด่น

ด้วยลักษณะการดำเนินงานอย่างอิสระทำให้ธนาคารเอกชนมีข้อได้เปรียบในหลายๆ เรื่อง สำหรับเรื่องสินเชื่อบ้าน การขอกู้กับธนาคารเอกชนก็มีข้อดีหลายข้อ เช่น
  • มีสินเชื่อหลากหลายให้เลือก
  • มีวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลาย
  • มีการดำเนินงานที่รวดเร็ว
  • มีแพ็คเกจพิเศษและโปรโมชั่นมากมาย
จะสังเกตว่า ลักษณะเด่นของธนาคารเอกชนจะมีความยืดหยุ่นและปรับตัวตามตลาดมากกว่าธนาคารรัฐ เช่น การออกแบบสินเชื่อที่หลากหลาย และมีแพ็คเกจหรือโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะมีการแข่งขันในตลาดเพื่อผลกำไรที่เข้มข้นกว่า สิ่งนี้ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกได้มากกว่า ทั้งนี้ ก็ต้องศึกษาให้ดีเพราะแพ็คเกจหรือโปรโมชั่นก็มีเงื่อนไข เนื่องจากธนาคารเอกชนมุ่งเน้นผลกำไรสูงสุดเป็นหลัก

ผ่อนบ้านกับธนาคารรัฐหรือธนาคารเอกชน

เมื่อคุณต้องการเลือกว่าจะขอกู้หรือผ่อนสินเชื่อบ้านกับธนาคารใด วิธีโดยทั่วไปที่หลายคนใช้ คือ การเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยว่าที่ใดให้ถูกหรือแพงกว่ากัน วงเงินที่ปล่อยสูงเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ เพื่อประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้เมื่อคุณกู้และผ่อนชำระ
วิธีข้างต้นเป็นเพียงวิธีการพื้นฐานที่ยังไม่ได้ประเมินเงื่อนไขอื่นๆ ของแต่ละธนาคาร โดยปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคาร ซึ่งสิ่งที่คุณควรนำมาพิจารณาในการเลือกธนาคารเพิ่มเติมก็มีอยู่ 3 ข้อ ด้วยกัน

1.ปัจจัยเอื้อต่อการอนุมัติง่าย

สินเชื่อของแต่ละธนาคารมีโครงการสินเชื่อย่อยๆ มากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อคนในแต่ละอาชีพและมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป สำหรับคนที่มีรายได้ประจำหรือเป็นข้าราชการก็จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถขอเงินกู้อนุมัติผ่านง่าย แต่สำหรับคนที่ไม่มีรายได้ในระบบสม่ำเสมอ ก็อาจต้องหาโครงการสินเชื่อที่เอื้อต่อการอนุมัติ
สำหรับธนาคารเอกชน การอนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ประจำถือว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จึงอาจสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่รับมา ทั้งนี้ คุณคอยติดตามโปรโมชั่นต่างๆ ของธนาคารให้ดี เพราะมักจะมีออกมาเรื่อยๆ เผื่อว่าคุณอาจจะได้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดกว่า
สำหรับธนาคารเฉพาะกิจเพื่อการมีบ้านอย่าง ธอส. จะมีความเชี่ยวชาญด้านการให้สินเชื่อบ้านมากกว่า และดำเนินนโยบายจากรัฐบาลเพื่อให้คนไทยมีบ้าน จึงออกแบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับคนทุกอาชีพ รวมทั้ง มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่รองรับสำหรับผู้มีหลักฐานรายได้ไม่ชัดเจนด้วย คือ โครงการ ธอส. โรงเรียนการเงิน  

2.โปรโมชั่นและสินเชื่อพิเศษ

โปรโมชั่น คือ หนึ่งในข้อปัจจัยที่ผู้ขอกู้สินเชื่อมองหา เพราะอาจทำให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าสินเชื่อปกติ และยังอาจได้รับงดเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย สำหรับธนาคารเอกชน แน่นอนว่ามักจะออกโปรโมชั่นมาอยู่เรื่อยๆ ให้ติดตาม แต่สำหรับธนาคารรัฐ จะเน้นโปรโมชั่นที่ครอบคลุมจุดประสงค์เรื่องบ้านไว้มากกว่า เช่น สินเชื่อบ้านมือสอง สินเชื่ออพาร์ทเม้นท์ สินเชื่อผู้ประกอบการ สินเชื่อสำหรับตกแต่งบ้าน สินเชื่อพิเศษสำหรับอาชีพต่างๆ เป็นต้น

3.ความมั่งคงและเป้าหมายของสถาบันการเงิน

ข้อนี้ หลายๆ คนอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะคิดว่าอย่างไร ธนาคารคงไม่ล้ม ขาดทุน และถ้าได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วก็จบเรื่อง แต่อย่าลืมว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้นส่วนใหญ่คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Float rate) นั่นหมายความว่า อัตราดอกเบี้ย MRR MLR ที่ใช้คิด อาจปรับขึ้นได้ ธนาคารใดที่มีความมั่นคงมากกว่า หรือมีผลประกอบการดี โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้นก็น้อย
ทั้งนี้ เรื่องความมั่นคงยังขึ้นอยู่กับเป้าหมายของสถาบันการเงินด้วย หากมุ่งเน้นผลกำไร-ขาดทุน อัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงมากกว่า สถาบันการเงินที่เน้นเพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยของประชาชนอย่างธนาคารรัฐ

สรุป

ธนาคารแต่ละธนาคารย่อมมีข้อได้เปรียบและข้อด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระบบบริหาร นโยบายในการออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านที่มีมูลค่าสูง ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ต่างกันไป เมื่อจะตัดสินใจกู้และผ่อนบ้านกับธนาคารใดจึงอาจศึกษาดูว่าที่ใดที่อนุมัติให้คุณได้ ที่ใดที่คุณจะสามารถผ่อนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และช่วยทำให้คุณมีบ้านได้จริง

ขอบคุณบทความดีๆจาก ghbank
www.ghbank.co.th

ผ่อนบ้านกับธนาคารเอกชนหรือธนาคารรัฐดี?


เมื่ออยากมีบ้าน ไม่ว่าจะซื้อหรือสร้างในทุกวันนี้ การขอสินเชื่อคือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ความฝันหรือความต้องการของคุณเป็นจริง แต่อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สินเชื่อบ้านคือภาระการผ่อนที่หนักด้วยจำนวนเงินผ่อนและระยะเวลาผ่อนที่ยาวนาน การจะเลือกผ่อนบ้านกับสถาบันการเงินใดจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี ว่าที่ใดเหมาะกับคุณ
ธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อบ้านในปัจจุบันมีอยู่แทบทุกธนาคาร ซึ่งสามารถแบ่งประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ ธนาคารรัฐ และธนาคารเอกชน (ธนาคารพาณิชย์) และเนื่องจากระบบการบริหารงานที่แตกต่างกันไป ทำให้นโยบาย การดำเนินงาน การบริการ จนไปถึงผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น สินเชื่อบ้านที่มีมูลค่าสูง มีลักษณะที่แตกต่างเป็นจุดเด่นจุดด้อยของธนาคารแต่ละประเภท

ธนาคารรัฐ

ธนาคารรัฐคือสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นธนาคารที่รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารและดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น หากรัฐบาลต้องการให้มีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้น รัฐบาลก็จะผลักดันนโยบายผ่านธนาคารปล่อยสินเชื่อให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือหากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยมากขึ้น รัฐบาลก็จะให้ธนาคารรัฐเหล่านี้ปล่อยสินเชื่อบ้าน เป็นต้น

ลักษณะเด่น

สำหรับการปล่อยกู้และผ่อนสินเชื่อบ้าน รัฐบาลก็มีธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะสำหรับเรื่องบ้าน คือธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งมาจากนโยบายของรัฐที่ออกแบบมาเพื่อให้ประชาชนได้มีบ้าน แม้จะมีรายได้น้อย ทำให้ธนาคารสำหรับบ้านมีข้อได้เปรียบจากนโยบายดังกล่าวและการสนับสนุนจากรัฐ เช่น
  • คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำ
  • ให้ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน
  • มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
  • อนุมัติสินเชื่อง่าย
  • สินเชื่อบ้านให้เลือกหลากหลาย
ลักษณะเด่นข้างต้นของธนาคารรัฐสำหรับเรื่องบ้านเป็นผลมาจากความมั่นคงที่อยู่ในสังกัดของกระทรวงการคลัง และด้วยวัตถุประสงค์แรกเริ่มของการก่อตั้งเพื่อให้ประชาชนมีบ้าน จึงมีความเชี่ยวชาญที่มากกว่า อีกทั้งยังได้รับการอุดหนุนดอกเบี้ยจากรัฐ เพื่อให้ประชาชนได้ดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านในเรตต่ำ

ธนาคารเอกชน

ธนาคารเอกชนมีระบบการบริหารด้วยตนเองไม่ได้อิงหรืออยู่ในสังกัดขององค์กรใด การตัดสินใจหรือการออกนโยบาย รวมทั้ง การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือการปล่อยกู้ก็มักจะออกแบบตามตลาดหรือความต้องการของลูกค้าเป้าหมายเป็นหลัก

ลักษณะเด่น

ด้วยลักษณะการดำเนินงานอย่างอิสระทำให้ธนาคารเอกชนมีข้อได้เปรียบในหลายๆ เรื่อง สำหรับเรื่องสินเชื่อบ้าน การขอกู้กับธนาคารเอกชนก็มีข้อดีหลายข้อ เช่น
  • มีสินเชื่อหลากหลายให้เลือก
  • มีวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยที่หลากหลาย
  • มีการดำเนินงานที่รวดเร็ว
  • มีแพ็คเกจพิเศษและโปรโมชั่นมากมาย
จะสังเกตว่า ลักษณะเด่นของธนาคารเอกชนจะมีความยืดหยุ่นและปรับตัวตามตลาดมากกว่าธนาคารรัฐ เช่น การออกแบบสินเชื่อที่หลากหลาย และมีแพ็คเกจหรือโปรโมชั่นเพื่อดึงดูดลูกค้า เพราะมีการแข่งขันในตลาดเพื่อผลกำไรที่เข้มข้นกว่า สิ่งนี้ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกได้มากกว่า ทั้งนี้ ก็ต้องศึกษาให้ดีเพราะแพ็คเกจหรือโปรโมชั่นก็มีเงื่อนไข เนื่องจากธนาคารเอกชนมุ่งเน้นผลกำไรสูงสุดเป็นหลัก

ผ่อนบ้านกับธนาคารรัฐหรือธนาคารเอกชน

เมื่อคุณต้องการเลือกว่าจะขอกู้หรือผ่อนสินเชื่อบ้านกับธนาคารใด วิธีโดยทั่วไปที่หลายคนใช้ คือ การเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยว่าที่ใดให้ถูกหรือแพงกว่ากัน วงเงินที่ปล่อยสูงเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ เพื่อประเมินความคุ้มค่าและความเป็นไปได้เมื่อคุณกู้และผ่อนชำระ
วิธีข้างต้นเป็นเพียงวิธีการพื้นฐานที่ยังไม่ได้ประเมินเงื่อนไขอื่นๆ ของแต่ละธนาคาร โดยปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของธนาคาร ซึ่งสิ่งที่คุณควรนำมาพิจารณาในการเลือกธนาคารเพิ่มเติมก็มีอยู่ 3 ข้อ ด้วยกัน

1.ปัจจัยเอื้อต่อการอนุมัติง่าย

สินเชื่อของแต่ละธนาคารมีโครงการสินเชื่อย่อยๆ มากมาย ซึ่งออกแบบมาเพื่อคนในแต่ละอาชีพและมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป สำหรับคนที่มีรายได้ประจำหรือเป็นข้าราชการก็จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถขอเงินกู้อนุมัติผ่านง่าย แต่สำหรับคนที่ไม่มีรายได้ในระบบสม่ำเสมอ ก็อาจต้องหาโครงการสินเชื่อที่เอื้อต่อการอนุมัติ
สำหรับธนาคารเอกชน การอนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ประจำถือว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จึงอาจสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่รับมา ทั้งนี้ คุณคอยติดตามโปรโมชั่นต่างๆ ของธนาคารให้ดี เพราะมักจะมีออกมาเรื่อยๆ เผื่อว่าคุณอาจจะได้เงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดกว่า
สำหรับธนาคารเฉพาะกิจเพื่อการมีบ้านอย่าง ธอส. จะมีความเชี่ยวชาญด้านการให้สินเชื่อบ้านมากกว่า และดำเนินนโยบายจากรัฐบาลเพื่อให้คนไทยมีบ้าน จึงออกแบบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับคนทุกอาชีพ รวมทั้ง มีผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่รองรับสำหรับผู้มีหลักฐานรายได้ไม่ชัดเจนด้วย คือ โครงการ ธอส. โรงเรียนการเงิน  

2.โปรโมชั่นและสินเชื่อพิเศษ

โปรโมชั่น คือ หนึ่งในข้อปัจจัยที่ผู้ขอกู้สินเชื่อมองหา เพราะอาจทำให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถูกกว่าสินเชื่อปกติ และยังอาจได้รับงดเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ เพิ่มเติมได้อีกด้วย สำหรับธนาคารเอกชน แน่นอนว่ามักจะออกโปรโมชั่นมาอยู่เรื่อยๆ ให้ติดตาม แต่สำหรับธนาคารรัฐ จะเน้นโปรโมชั่นที่ครอบคลุมจุดประสงค์เรื่องบ้านไว้มากกว่า เช่น สินเชื่อบ้านมือสอง สินเชื่ออพาร์ทเม้นท์ สินเชื่อผู้ประกอบการ สินเชื่อสำหรับตกแต่งบ้าน สินเชื่อพิเศษสำหรับอาชีพต่างๆ เป็นต้น

3.ความมั่งคงและเป้าหมายของสถาบันการเงิน

ข้อนี้ หลายๆ คนอาจไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควร เพราะคิดว่าอย่างไร ธนาคารคงไม่ล้ม ขาดทุน และถ้าได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วก็จบเรื่อง แต่อย่าลืมว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารนั้นส่วนใหญ่คิดเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว (Float rate) นั่นหมายความว่า อัตราดอกเบี้ย MRR MLR ที่ใช้คิด อาจปรับขึ้นได้ ธนาคารใดที่มีความมั่นคงมากกว่า หรือมีผลประกอบการดี โอกาสที่อัตราดอกเบี้ยจะปรับสูงขึ้นก็น้อย
ทั้งนี้ เรื่องความมั่นคงยังขึ้นอยู่กับเป้าหมายของสถาบันการเงินด้วย หากมุ่งเน้นผลกำไร-ขาดทุน อัตราดอกเบี้ยจะมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นลงมากกว่า สถาบันการเงินที่เน้นเพิ่มจำนวนที่อยู่อาศัยของประชาชนอย่างธนาคารรัฐ

สรุป

ธนาคารแต่ละธนาคารย่อมมีข้อได้เปรียบและข้อด้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับระบบบริหาร นโยบายในการออกผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านที่มีมูลค่าสูง ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ต่างกันไป เมื่อจะตัดสินใจกู้และผ่อนบ้านกับธนาคารใดจึงอาจศึกษาดูว่าที่ใดที่อนุมัติให้คุณได้ ที่ใดที่คุณจะสามารถผ่อนได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และช่วยทำให้คุณมีบ้านได้จริง

ขอบคุณบทความดีๆจาก ghbank
www.ghbank.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น