รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่?
ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรรจะมีระบุไว้ว่ารั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียง รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้วเราจะเข้าไปอยู่ใหม่อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่ารั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดินก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง
และจากการที่รั้วบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่ายหากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดินถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิมโดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั้นเอง

จะต่อเติมรั้วต้องต่อเติมรั้วอย่างไร?
ถ้าเป็นรั้วที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เราจะมีสิทธิ์ต่อเติมรั้วได้ไม่เกินกึ่งกลางของรั้วเดิมตามแนวเขตที่ดิน ยกเว้นแต่จะมีการยินยอมจากบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรให้สามารถตั้งส่วนต่อเติมไว้กึ่งกลางของรั้วเดิมได้ โดยปกติก็ควรจะวางส่วนต่อเติมไว้บนทับหลังคานของรั้วเดิมหรือยึดกับผนังของรั้วฝั่งที่ดินของเรา ไม่ล้ำเกินกึ่งกลางของรั้ว หรือจะตั้งเสาใหม่หรือรั้วใหม่อีกชั้นอยู่ภายในเขตของที่ดินเราใหม่เลยก็ได้
อย่างไรก็ตามการทำรั้วที่ติดกับที่ดินข้างเคียง ควรมีการเอาแบบก่อสร้างไปพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อน เพื่อลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรั้วของเราอาจจะสร้างปัญหาให้บ้านข้างเคียงและทำให้เราอาจโดนฟ้องได้หรือโดนสั่งให้รื้อส่วนต่อเติมทิ้ง เช่น การที่ไปก่อสร้างรั้วทึบสูงๆ อาจทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัย บดบังทิศทางลม บดบังแดดที่อาจทำให้หญ้าหรือต้นไม้บ้านเขาตายได้

เพื่อนบ้านจะต่อเติมรั้วต้องดูอะไรบ้าง?
ถ้าบ้านข้างเคียงมีการต่อเติมรั้ว ควรรีบคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนและขอดูแบบรั้วคร่าวๆเพื่อดูรูปร่างหน้าตาของการต่อเติมและต้องตรวจสอบแบบรั้วว่าไม่มีส่วนที่ล้ำมายังเขตที่ดินของเรา ทั้งนี้ไม่ควรรอให้รั้วเสร็จแล้วค่อยบอก เพราะมักจะเกิดการทะเลาะกันจากการขอให้รื้อรั้วออก นอกจากนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นหากมีการต่อเติมรั้ว เช่น เราอาจจะได้ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องต่อเติมรั้วเอง หรือ ถ้าการต่อเติมรั้วมีการวางโครงสร้างไว้บนรั้วเดิมโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากแล้วอาจจะทำให้รั้วเดิมทรุดได้ต้องรีบแจ้งให้บ้านข้างเคียงปรับแบบก่อน
อีกกรณีหนึ่งที่มักพบเจอกันคือการที่บ้านข้างเคียงต่อเติมอาคารเดิมมาชนกับรั้วบ้านเรา เช่น การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น

กฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ควรรู้
มีกฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ท่านควรจะทราบไว้ดังนี้
  • รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ ต้องไม่มีส่วนใดล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน ดังนั้นอาจเลือกทำฐานรากเป็นแบบตีนเป็ดเพื่อไม่ให้ฐานรากไม่ล้ำไปยังที่สาธารณะ
  • รั้วที่สร้างชิดแนวที่ดินสาธารณะให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ สำหรับเขตกรุงเทพฯ หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
  • รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”

เรื่องรั้วบ้านกับเพื่อนบ้านข้างเคียงที่คุณควรรู้ไว้



รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่?
ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรรจะมีระบุไว้ว่ารั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียง รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้วเราจะเข้าไปอยู่ใหม่อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่ารั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดินก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง
และจากการที่รั้วบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่ายหากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดินถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิมโดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั้นเอง

จะต่อเติมรั้วต้องต่อเติมรั้วอย่างไร?
ถ้าเป็นรั้วที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เราจะมีสิทธิ์ต่อเติมรั้วได้ไม่เกินกึ่งกลางของรั้วเดิมตามแนวเขตที่ดิน ยกเว้นแต่จะมีการยินยอมจากบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรให้สามารถตั้งส่วนต่อเติมไว้กึ่งกลางของรั้วเดิมได้ โดยปกติก็ควรจะวางส่วนต่อเติมไว้บนทับหลังคานของรั้วเดิมหรือยึดกับผนังของรั้วฝั่งที่ดินของเรา ไม่ล้ำเกินกึ่งกลางของรั้ว หรือจะตั้งเสาใหม่หรือรั้วใหม่อีกชั้นอยู่ภายในเขตของที่ดินเราใหม่เลยก็ได้
อย่างไรก็ตามการทำรั้วที่ติดกับที่ดินข้างเคียง ควรมีการเอาแบบก่อสร้างไปพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อน เพื่อลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรั้วของเราอาจจะสร้างปัญหาให้บ้านข้างเคียงและทำให้เราอาจโดนฟ้องได้หรือโดนสั่งให้รื้อส่วนต่อเติมทิ้ง เช่น การที่ไปก่อสร้างรั้วทึบสูงๆ อาจทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัย บดบังทิศทางลม บดบังแดดที่อาจทำให้หญ้าหรือต้นไม้บ้านเขาตายได้

เพื่อนบ้านจะต่อเติมรั้วต้องดูอะไรบ้าง?
ถ้าบ้านข้างเคียงมีการต่อเติมรั้ว ควรรีบคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนและขอดูแบบรั้วคร่าวๆเพื่อดูรูปร่างหน้าตาของการต่อเติมและต้องตรวจสอบแบบรั้วว่าไม่มีส่วนที่ล้ำมายังเขตที่ดินของเรา ทั้งนี้ไม่ควรรอให้รั้วเสร็จแล้วค่อยบอก เพราะมักจะเกิดการทะเลาะกันจากการขอให้รื้อรั้วออก นอกจากนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นหากมีการต่อเติมรั้ว เช่น เราอาจจะได้ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องต่อเติมรั้วเอง หรือ ถ้าการต่อเติมรั้วมีการวางโครงสร้างไว้บนรั้วเดิมโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากแล้วอาจจะทำให้รั้วเดิมทรุดได้ต้องรีบแจ้งให้บ้านข้างเคียงปรับแบบก่อน
อีกกรณีหนึ่งที่มักพบเจอกันคือการที่บ้านข้างเคียงต่อเติมอาคารเดิมมาชนกับรั้วบ้านเรา เช่น การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น

กฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ควรรู้
มีกฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ท่านควรจะทราบไว้ดังนี้
  • รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ ต้องไม่มีส่วนใดล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน ดังนั้นอาจเลือกทำฐานรากเป็นแบบตีนเป็ดเพื่อไม่ให้ฐานรากไม่ล้ำไปยังที่สาธารณะ
  • รั้วที่สร้างชิดแนวที่ดินสาธารณะให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ สำหรับเขตกรุงเทพฯ หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
  • รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น