ปกติแล้วการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกที่สุดคือการที่พ่อแม่โอนให้ลูก หรือการโอนสายตรงเท่านั้น การโอนให้กันระหว่างญาติพี่น้อง มักเสียค่าธรรมเนียมเทียบเท่ากับบุคคลทั่วไป โดยมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร และคำนวณยังไง เรามาหาคำตอบกัน
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ญาติพี่น้อง
การโอนที่ดินให้ญาติพี่น้อง คิดตามหลักของการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นเลย เพราะไม่ใช่สายตรงอย่างพ่อแม่ลูกที่ถือว่าเป็นมรดก โดยการโอนกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อได้ที่กรมที่ดิน ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเมื่อมีการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากไม่ชำระภาษีที่กรมที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วน ก็จะโอนกรรมสิทธิที่ดินที่ซื้อขายนั้นไม่ได้ หลักๆแล้วเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินสำหรับญาติพี่น้องโอนให้กันออกเป็น 4 ประเภท คือ
- ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 คํานวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย คํานวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามอัตราก้าวหน้าของกรมสรรพากร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงและคํานวณให้
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดสูงกว่า (ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปี)
- อากรแสตมป์ใบรับ ร้อยละ 0.5 จากราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือจํานวน ทุนทรัพย์ ที่ผู้ขอแสดง แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า คิดจากราคาสูง แต่ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้นแล้ว ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
แต่ถ้าเป็นการซื้อขายระหว่างพี่น้องกัน ก็จำเป็นต้องเสียค่าค่าจดจำนองหากมีการจดจำนองกับสถาบันการเงิน 1% ของมูลค่าการจดจำนอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราจะต้องจ่ายไปนั้นแทบไม่ต่างอะไรกับการขายให้กับบุคคลทั่วไปเลย เว้นเสียแต่ว่ากรณีที่เป็นพ่อแม่ หรือตายายที่โอนให้เราโดยตรง เราจะเสียค่าธรรมเนียมเพียงร้อยละ 0.5 และค่าสืบพยานอีก 20 บาทเท่านั้น เท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น