บ้านหลังคาจั่วสวนทรอปิคอล

เราเชื่อว่ารูปแบบและบรรยากาศของบ้านในฝันสำหรับแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจมาจากปัจจัยเกี่ยวข้องที่เป็นตัวกำหนดต่าง ๆ กันไม่ว่าจะเป็น รสนิยม ค่านิยม วัฒนธรรม หรือสมัยนิยม แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะคล้ายกันคือ บ้านทุกหลังต้องการพื้นที่ใช้ชีวิตที่ตอบโจทย์วิถีการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัว และควรมีธรรมชาติเพื่อสร้างความมีชีวิตชีวาปนผ่อนคลาย และหากใครที่ชอบบ้านอารมณ์ชนบทเล็ก ๆ มีกลิ่นอายความอบอุ่นจากวัสดุพื้นถิ่นปนความโมเดิร์นและสวนที่จัดตามได้ไม่ยาก ลองแวะมาชมบ้านหลังนี้ในอินเดียกันดูครับ





บ้านที่ผสมท้องถิ่นกับโมเดิร์นเข้าด้วยกัน

ประตูรั้วที่ดีไซน์เส้นสายเรขาคณิตแบบโมเดิร์น เป็นแผ่นเหล็กสีสนิมเจาะเป็นรูปร่างวงกลมตรงประตูทางเข้าตัดด้วยเหล็กเส้นแนวตั้งสีดำ ทำให้บ้านเรียบ ๆ แต่มีมิติทางสายตา วัสดุใหม่ๆ นี้ยังให้พื้นผิวที่มีความเป็นธรรมชาติเข้ากันได้กับกำแพงเดิมที่ก่อจากแผ่นหินขนาดใหญ่ด้วย




พื้นที่ต่างระดับของบ้านไม่ได้ปรับให้เท่ากัน ซึ่งจะใช้งบระมาณในการปรับหน้าดินอีกค่อนข้างมากแต่สถาปนิกเลือกใช้ความต่างระดับมาสร้างประโยชน์ ด้วยการใส่บันไดเข้าไปทำให้การเข้าถึงแต่ละระดับของบ้านน่าสนุกขึ้น




บ้านหลังคาจั่วและปั้นหยาที่ต่อเชื่อมกัน

แม้ว่าบ้านจะดูเหมือนมีชั้นเดียวหากดูจากภายนอก แต่จริงๆ แล้วข้างในเป็นกลุ่มอาคารมีทั้งชั้นเดียวและสองชั้นเชื่อมต่อกัน ตัวบ้านไม่ได้สร้างก่ออิฐฉาบทึบทั้งหมด แต่มีหลาย ๆ ส่วนที่เปิดออกได้กว้างเพื่อรับอากาศใหม่เข้าไปไหลเวียนและระบายอากาศเก่าออกมา หลังคาบ้านผสมผสานระหว่างทรงปั้นหยาและหลังคาจั่ว ซึ่งมีข้อดีที่แตกต่างกันในการปกป้องบ้าน พื้นที่บ้านจะแทรกด้วยลานโล่ง ๆ สามส่วนที่กระจายอยู่ หน้าบ้านเป็นลานปูแผ่นกระเบื้อง ด้านในเป็นสวนสไตล์ทรอปิคอลที่ดูชุ่มชื่นด้วยสวนน้ำจิ๋ว เป็นแบบบ้านง่าย ๆ ที่เรียงร้อยเข้าด้วยกันอย่างเข้าใจสภาพภูมิอากาศ การใช้งาน และความเข้ากันได้กับบรรยากาศรอบ ๆ




หลังคาจั่วใส่กระเบื้องดินเผาแทนฝ้า

จากชานหน้าบ้านเข้ามาภายในจะเห็นห้องโถงกว้างขวางซึ่งเป็นไฮไลต์ของบ้าน แปลนบ้านเป็นแบบเปิดเน้นความโล่งโปร่งและลื่นไหล ชั้นล่างมีห้องนั่งเล่น ครัวแบบเปิดอยู่ข้างพื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่ทำงานที่อยู่ติดกันทำให้พื้นทั้งหมดเชื่อมต่อกันให้ใช้งานได้ง่าย การตกแต่งภายในหลีกเลี่ยงสีที่สดใสชวนให้ขัดตาและไม่ได้ตกแต่งอย่างหรูหรา เฟอร์นิเจอร์เป็นของเก่านำมาขัดและกลับมาใช้ใหม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้เฟอร์นิเจอร์เก่ายังเพิ่มเสน่ห์ของโลกเก่าให้กับพื้นที่ด้วย  ผนังบ้านมีช่องเปิดขนาดใหญ่ทั้งสองด้านเพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอและเย็นสบาย ส่วนของพื้นแทนที่จะปูกระเบื้องกลับใช้หินแกรนิตธรรมชาติ ที่ทำให้รู้สึกสบายเท้าแล้วยังมีส่วนทำให้บ้านเย็นขึ้นเช่นกัน



ห้องนอนทุกห้องมีหน้าต่างที่มีขนาดใหญ่ เปิดรับธรรมชาติที่สวยงามด้านนอกได้เต็มที่





สวนที่ตกแต่งน้อย ๆ แต่ให้ความรู้สึกสบาย ด้วยสีเข้มเขียวของต้นไม้เขตร้อน หินธรรมชาติและกรวด พื้นที่นี้ได้กลายเป็นจุดที่มีชีวิตชีวาที่สุดในบ้านที่ใคร ๆ ก็สามารถเพลิดเพลินไปกับความงามอันน่ารื่นรมย์นี้ได้ สมาชิกในครอบครัวชอบที่จะมารวมตัวกันที่นี่เพื่อนั่งเล่นพักผ่อน ทำกิจกรรมที่ชอบทุก ๆ วัน



สวนทรอปิคอลกับอ่างน้ำเล็ก ๆ 

มุขหน้าบ้านที่เป็นชานนั่งเล่นยกพื้นขึ้นเล็กน้อย เพิ่มความสง่างามของสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ด้วยผนังที่ตกแต่งแผ่นศิลาแลง โครงหลังคาทั้งภายนอกและภายในเป็นเหล็กทาสีดำ มุงหลังคากระเบื้องรูปลอนไม่มีฝ้าเพดานแต่ซ้อนด้วยแผ่นกระเบื้องดินเผาพื้นถิ่นสีน้ำตาลช่วยเพิ่มรูปลักษณ์ดั้งเดิมและยังเป็นฉนวนลดความร้อนภายในบ้านได้ดีด้วย





ความเป็นกันเอง เรียบง่าย ทำให้ผู้อยู่อาศัยและผู้มาเยือนหัวใจอบอุ่นให้แรงบันดาลใจในเชิงบวก ไม่ว่าจะก้าวไป ณ จุดไหน ก็อิ่มเอมด้วยทิวทัศน์อันงดงามของธรรมชาติและบรรยากาศที่ชวนให้สบาย เป็นการผสมผสานแนวคิดสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ เข้ากับบริบทของท้องถิ่นให้ออกมาพอดีอย่างกลมกล่อม







ออกแบบ : VSP Architects
ภาพถ่าย : Turtle Arts Photography
เนื้อหา : www.banidea.com


บ้านหลังคาจั่ว กับสวนทรอปิคอลสดชื่น สไตล์ที่ลงตัวและมีเอกลักษณ์

เทคนิคประกาศขายบ้าน ประกาศเช่าออนไลน์ 
ให้ทำเงิน


ยุคนี้ อะไรๆ ก็ง่ายขึ้น ทุกๆ เรื่องราว ทุกๆ แวดวงสามารถเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้เสมอ การซื้อขายบ้านก็เช่นเดียวกัน สามารถโพสประกาศขายกันได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ ฟรี แต่เมื่อสำรวจให้ลึกลงไปแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่จะประสบความสำเร็จได้ เพราะแต่ละบุคคลมีความตั้งใจ เก็บรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ ได้อย่างแตกต่างกัน วันนี้เราจึงมีเทคนิคพื้นฐานที่จำเป็นมาฝากกันครับ


1. เลือกเว็บไซต์ 

ปัจจุบันเว็บไซต์ลงประกาศต่างๆ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในรูปแบบประกาศฟรี ผู้ประกาศเพียงสมัครสมาชิก ก็สามารถดำเนินการลงประกาศได้เลยทันที อาจอยู่ในรูปแบบเว็บประกาศโดยตรง หรือเว็บบอร์ดก็ได้เช่นกัน การเลือกเว็บไซต์ลงประกาศ ควรเลือกเว็บที่มีผู้คนเข้าใช้งานบ่อยๆ ก่อน และควรจดบันทึกไว้ทุกครั้ง ทุกเว็บไซต์ที่เคยลงประกาศไว้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นนายหน้า ลงประกาศบ่อยครั้ง การจดบันทึกจะช่วยให้ประเมินได้ว่า เว็บไซต์ใดบ้างที่ลงประกาศแล้วได้ผล ตรงกลุ่มเป้าหมาย



2. เตรียมข้อมูล (ภาพ) 

ข้อมูลที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก คือไฟล์ภาพ ภาพที่ดีควรมีความชัดเจน ถ่ายอย่างสวยงาม สิ่งนี้ดุจดั่งป้ายโฆษณา ที่ชวนให้ผู้คนเข้าชมมากยิ่งขึ้น ภาพสวยมักเป็นสิ่งเชื้อเชิญให้เกิดความน่าสนใจ แต่ปัจจุบันการลงประกาศในเว็บไซต์ต่างๆ นั้น น้อยมากที่จะลงภาพถ่ายที่สวยงาม หากท่านใดเคยเข้าชมเว็บไซต์ต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ภาพถ่ายที่ลงประกาศ ล้วนแล้วเป็นภาพที่สมบูรณ์ หรือผู้ลงประกาศบางท่าน ใช้วิธีการจ้างช่างภาพให้มาถ่ายภาพบ้านตนเอง เพื่อลงประกาศโดยเฉพาะ เพราะการลงทุนด้านภาพถ่าย เป็นความคุ้มค่า ที่สามารถช่วยลดระยะเวลาให้ขายได้ไว อีกทั้งยังเพิ่มราคาบ้านได้อีกด้วย




3. เตรียมข้อมูล (รายละเอียด) 

เมื่อภาพถ่ายดุจดั่งโฆษณาเชื้อเชิญให้เข้าชม ลำดับต่อมาในการตัดสินใจคือข้อมูลของบ้าน ข้อมูลที่จำเป็นประกอบด้วย

– เนื้อที่บ้าน ที่ดิน โดยปกติใช้หน่วยเป็นตารางวา
– พื้นที่ใช้สอย เป็นพื้นที่ใช้สอยรวมภายในบ้านทุกๆ ห้อง โดยปกติใช้หน่วยเป็นตารางเมตร
– ลักษณะบ้านมีกี่ชั้น กี่ห้องนอน กี่ห้องน้ำ และห้องอื่นๆ (มีแปลนบ้านด้วยยิ่งดีมาก) หากเป็นบ้านที่อยู่ภายในโครงการจัดสรร ควรแจ้งชื่อโครงการด้วยเช่นกัน
– ทำเลที่ตั้ง หากเว็บไซต์ลงประกาศนั้น สามารถระบุพิกัดแผนที่ไปได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ดี ควรระบุไปด้วย แต่หากเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีฟังก์ชั่นดังกล่าว ผู้ลงประกาศควรทำแผนที่ อาจด้วยวิธีง่ายๆ จาก Google Maps หรือแจ้งพิกัด GPS เพื่อให้ผู้ชมสามารถค้นหาตำแหน่งบ้านได้
– เล่าเรื่องราวในสาเหตุที่ต้องการขายเล็กน้อย หรือเรื่องราวเกี่ยวกับคุณสมบัติอื่นๆ ของบ้าน เช่น คุณสมบัติด้านการตกแต่ง ทำเลที่ตั้ง ปัจจัยเสริมอื่นๆ
– ราคาบ้าน ควรระบุไว้อย่างชัดเจน
– เบอร์โทร อีเมล์ ข้อมูลในการติดต่อ (ทุกๆ ข้อมูลติดต่อที่แจ้งไปนั้น ควรติดต่อได้เสมอ หลายท่านไม่ค่อยใช้อีเมล์แต่ลงอีเมล์ไปด้วยเพราะอยากให้ข้อมูลดูครบ เต็มทุกช่อง หากเป็นเช่นนั้นเว้นว่างไว้ ไม่ลงย่อมดีกว่า)





4. ระบุราคาบ้าน 

การระบุราคาบ้านไว้อย่างชัดเจนนั้น เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขายบ้านได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังช่วยลดเวลาการทำงานของผู้ลงประกาศอีกด้วย เพราะราคาเป็นตัวกลั่นกรองผู้ติดต่อที่ดี ผู้ที่ติดต่อมา ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่รับได้ในราคาดังกล่าว อาจมีต่อรองบ้างเป็นปกติ แต่หากไม่ลงราคาไว้ อาจทำให้ผู้ประกาศเหนื่อยขึ้นได้ เพราะผู้ติดต่อไม่รู้ราคา อาจโทรมาด้วยความอยากรู้ หรือเพียงต้องการสอบถามเท่านั้น การลงราคาบ้าน ยังช่วยลดระยะเวลาในการขอดูบ้านจริงอีกด้วยครับ หรืออาจสรุปรวมได้ว่า ผู้ที่ติดต่อมานั้น มีเปอร์เซ็นในการซื้อขายสูงกว่าอย่างแน่นอน

เป็นเช่นไรกันบ้างครับ สำหรับเทคนิค 4 ข้อ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่ได้พิเศษอะไร แต่เป็นเทคนิคพื้นฐานสำคัญที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามกันไป การทำงาน ไม่จำเป็นต้องทำเยอะ ไม่จำเป็นต้องลงประกาศหลายสิบเว็บ เพียงแค่คัดเลือกเว็บไซต์ที่ดี พร้อมกับข้อมูลที่ดีพร้อม โอกาสดีๆ ย่อมตามมาได้อย่างง่ายยิ่งขึ้นครับ





ผู้เขียน : อภิสิทธิ์ สุธาประดิษฐ์

www.banidea.com



เทคนิคประกาศขายบ้าน ประกาศเช่าออนไลน์ ให้ทำเงิน


บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี หรือบ้านรูปทรงร่วมสมัย เป็นบ้านที่มีดีไซน์ทันสมัย พร้อมกับมีรายละเอียดที่สวยงาม โดยเป็นบ้านที่ก่อสร้างและดูแลได้ง่าย จึงเป็นที่นิยมกนอย่างแพร่หลาย วันนี้ ในบ้าน จึงจะพาเพื่อนๆ ไปชมไอเดีย บ้านสไตล์คอนเทมโพรารี ผลงานบ้านสวยจาก SK Home ไปชมกันเลยจ้า

สำหรับบบ้านหลังนี้เป็นบ้านชั้นเดียว ฐานของบ้านถูกยกขึ้นต่ำ ตัวบ้านมีดีไซน์แบบบ้านทรงร่วมสมัยที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี โดยมีหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องแผ่นเรียบสวยงาม ผนังภายนอกเลือกใช้สีฟ้ายืนพื้น เพิ่มรายละเอียดให้บ้านเด่นด้วยสีส้ม น้ำตาล ขาว และดำ

















บ้านชั้นเดียวสไตล์คอนเทมโพรารี 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ห้องรับแขก 1 ห้องครัว สำหรับข้อมูล และรายละเอียดเพิ่มเติมอื่นๆ เพื่อนๆ สามารถติดต่อสอบถามได้จากช่องทางติดต่อด้านล่างนี้ได้เลยนะครับ

ที่มา : รับสร้างบ้าน ราคาประหยัด By SK Home

เบอร์โทรศัพท์ : 098 096 9292

ID Line : trust_home

บ้านชั้นเดียวสไตล์คอนเทมโพรารี ดีไซน์สวยหรู เน้นพื้นที่เฉลียงกว้างหน้าบ้าน 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ


ปกติแล้วการ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ที่ถูกที่สุดคือการที่พ่อแม่โอนให้ลูก หรือการโอนสายตรงเท่านั้น การโอนให้กันระหว่างญาติพี่น้อง มักเสียค่าธรรมเนียมเทียบเท่ากับบุคคลทั่วไป โดยมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ต้องดำเนินการอย่างไร และคำนวณยังไง เรามาหาคำตอบกัน

การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้ญาติพี่น้อง

การโอนที่ดินให้ญาติพี่น้อง คิดตามหลักของการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้อื่นเลย เพราะไม่ใช่สายตรงอย่างพ่อแม่ลูกที่ถือว่าเป็นมรดก โดยการโอนกรรมสิทธิ์สามารถติดต่อได้ที่กรมที่ดิน ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเมื่อมีการซื้อขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน หากไม่ชำระภาษีที่กรมที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วน ก็จะโอนกรรมสิทธิที่ดินที่ซื้อขายนั้นไม่ได้  หลักๆแล้วเราจะแบ่งค่าใช้จ่ายในการโอนที่ดินสำหรับญาติพี่น้องโอนให้กันออกเป็น 4 ประเภท คือ
  1. ค่าธรรมเนียม ร้อยละ 2 คํานวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์
  2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หัก ณ ที่จ่าย คํานวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ ตามอัตราก้าวหน้าของกรมสรรพากร ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงและคํานวณให้
  3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่อย่างใดสูงกว่า (ไม่ต้องชำระหากถือครองเกิน 5 ปี หรือมีชื่อในทะเบียนบ้านที่จะโอนเกินกว่า 1 ปี) 
  4. อากรแสตมป์ใบรับ ร้อยละ 0.5 จากราคาประเมินทุนทรัพย์ หรือจํานวน ทุนทรัพย์ ที่ผู้ขอแสดง แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า คิดจากราคาสูง แต่ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะข้างต้นแล้ว ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
แต่ถ้าเป็นการซื้อขายระหว่างพี่น้องกัน ก็จำเป็นต้องเสียค่าค่าจดจำนองหากมีการจดจำนองกับสถาบันการเงิน 1% ของมูลค่าการจดจำนอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เราจะต้องจ่ายไปนั้นแทบไม่ต่างอะไรกับการขายให้กับบุคคลทั่วไปเลย เว้นเสียแต่ว่ากรณีที่เป็นพ่อแม่ หรือตายายที่โอนให้เราโดยตรง เราจะเสียค่าธรรมเนียมเพียงร้อยละ 0.5  และค่าสืบพยานอีก 20 บาทเท่านั้น เท่านั้น

ที่มา : กรมที่ดิน

โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ญาติพี่น้อง ต้องทำยังไง เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ไอเดีย การจัดสวนและทางเดิน ข้างบ้าน จัดสวนสวยๆ พื้นที่แคบๆ



รั้วบ้านใครเป็นเจ้าของกันแน่?
ถ้าเป็นรั้วบ้านของบ้านจัดสรรจะมีระบุไว้ว่ารั้วบ้านถือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างบ้านข้างเคียง รั้วจะถูกวางไว้กึ่งกลางระหว่างเส้นแบ่งที่ดิน ส่วนถ้าเป็นรั้วบ้านที่ไม่ใช่บ้านจัดสรรแล้วเราจะเข้าไปอยู่ใหม่อาจจะต้องเช็คจากหมุดที่ดินว่ารั้วนั้นอยู่กึ่งกลางที่ดินหรือไม่ ถ้ารั้วอยู่กึ่งกลางที่ดินก็จะถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ถ้ารั้วนั้นอยู่ในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียงทั้งหมด เราต้องสร้างรั้วขึ้นมาใหม่ในที่ดินของเราเท่านั้น จะไปใช้รั้วร่วมกับบ้านข้างเคียงไม่ได้ เพราะจะถือว่าเราไปใช้พื้นที่ล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของบ้านข้างเคียง
และจากการที่รั้วบ้านเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน ทั้งสองบ้านต้องช่วยกันสร้าง ดูแล และออกค่าใช้จ่ายหากมีการซ่อมแซมรั้วคนละครึ่ง ทั้งนี้หากเราเข้าไปอยู่อาศัยใหม่และรั้วเดิมที่อยู่กึ่งกลางที่ดินถูกสร้างโดยบ้านข้างเคียงแล้ว เราอาจจะแสดงน้ำใจด้วยการขอซ่อมแซมรั้วเดิมโดยออกค่าใช้จ่ายให้ในครั้งนี้ เพราะเราไม่ได้ช่วยออกค่าสร้างรั้วให้ตั้งแต่แรกนั้นเอง

จะต่อเติมรั้วต้องต่อเติมรั้วอย่างไร?
ถ้าเป็นรั้วที่มีกรรมสิทธิ์ร่วมกัน เราจะมีสิทธิ์ต่อเติมรั้วได้ไม่เกินกึ่งกลางของรั้วเดิมตามแนวเขตที่ดิน ยกเว้นแต่จะมีการยินยอมจากบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษรให้สามารถตั้งส่วนต่อเติมไว้กึ่งกลางของรั้วเดิมได้ โดยปกติก็ควรจะวางส่วนต่อเติมไว้บนทับหลังคานของรั้วเดิมหรือยึดกับผนังของรั้วฝั่งที่ดินของเรา ไม่ล้ำเกินกึ่งกลางของรั้ว หรือจะตั้งเสาใหม่หรือรั้วใหม่อีกชั้นอยู่ภายในเขตของที่ดินเราใหม่เลยก็ได้
อย่างไรก็ตามการทำรั้วที่ติดกับที่ดินข้างเคียง ควรมีการเอาแบบก่อสร้างไปพูดคุยกับบ้านข้างเคียงก่อน เพื่อลดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะรั้วของเราอาจจะสร้างปัญหาให้บ้านข้างเคียงและทำให้เราอาจโดนฟ้องได้หรือโดนสั่งให้รื้อส่วนต่อเติมทิ้ง เช่น การที่ไปก่อสร้างรั้วทึบสูงๆ อาจทำให้เกิดการบดบังทัศนวิสัย บดบังทิศทางลม บดบังแดดที่อาจทำให้หญ้าหรือต้นไม้บ้านเขาตายได้

เพื่อนบ้านจะต่อเติมรั้วต้องดูอะไรบ้าง?
ถ้าบ้านข้างเคียงมีการต่อเติมรั้ว ควรรีบคุยกับบ้านข้างเคียงก่อนและขอดูแบบรั้วคร่าวๆเพื่อดูรูปร่างหน้าตาของการต่อเติมและต้องตรวจสอบแบบรั้วว่าไม่มีส่วนที่ล้ำมายังเขตที่ดินของเรา ทั้งนี้ไม่ควรรอให้รั้วเสร็จแล้วค่อยบอก เพราะมักจะเกิดการทะเลาะกันจากการขอให้รื้อรั้วออก นอกจากนี้ควรเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นหากมีการต่อเติมรั้ว เช่น เราอาจจะได้ความเป็นส่วนตัวที่เพิ่มมากขึ้นโดยที่เราไม่ต้องต่อเติมรั้วเอง หรือ ถ้าการต่อเติมรั้วมีการวางโครงสร้างไว้บนรั้วเดิมโดยใช้วัสดุที่มีน้ำหนักมากแล้วอาจจะทำให้รั้วเดิมทรุดได้ต้องรีบแจ้งให้บ้านข้างเคียงปรับแบบก่อน
อีกกรณีหนึ่งที่มักพบเจอกันคือการที่บ้านข้างเคียงต่อเติมอาคารเดิมมาชนกับรั้วบ้านเรา เช่น การต่อเติมครัวหลังบ้าน ตรงนี้ต้องดูที่กฎมายระยะร่นอาคาร โดยดูว่าส่วนต่อเติมนั้นหากมีหน้าต่างหรือช่องแสงต้องร่นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตรจากแนวเขตที่ดิน ถ้าไม่มีช่องแสงเป็นเพียงผนังทึบสามารถร่นระยะห่างเหลือ 50 เซนติเมตร อย่างไรก็ตามหากหากไม่มีช่องแสงเลยจะสามารถสร้างชิดเขตหรือรั้วได้แต่ต้องให้บ้านข้างเคียงเซ็นอนุญาตก่อน ทั้งนี้บล็อกแก้วก็จัดเป็นช่องแสงด้วยต้องร่นระยะห่าง 2 เมตร ซึ่งหากไม่เป็นไปตามกฎหมายก็สามารถร้องขอให้เทศบาลมาตรวจสอบและสั่งให้รื้อได้ ทั้งนี้หากจะอนุญาตให้เพื่อนบ้านต่อเติมมาชนรั้วบ้านเรา เราต้องดูว่าเมื่อต่อเติมเสร็จแล้วจะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง เช่น น้ำฝนจากหลังคาจะหล่นมาที่บ้านเราหรือไม่หรือส่วนต่อเติมจะทำให้รั้วเดิมเกิดการชำรุดเสียหายหรือไม่ เป็นต้น

กฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ควรรู้
มีกฎหมายเกี่ยวกับรั้วที่ท่านควรจะทราบไว้ดังนี้
  • รั้วที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับที่สาธารณะ ต้องไม่มีส่วนใดล้ำออกไปในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบนดิน เหนือดิน หรือใต้ดิน ดังนั้นอาจเลือกทำฐานรากเป็นแบบตีนเป็ดเพื่อไม่ให้ฐานรากไม่ล้ำไปยังที่สาธารณะ
  • รั้วที่สร้างชิดแนวที่ดินสาธารณะให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ สำหรับเขตกรุงเทพฯ หากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ก่อสร้างสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
  • รั้วกั้นระหว่างที่ดินเอกชนที่ติดกันและรั้วนั้นมีความสูงไม่ถึง 10 เมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตก่อสร้าง เพราะไม่ถือเป็น “อาคาร” แต่หากรั้วนั้นมีความสูงถึง 10 เมตร ก็จะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างเพราะเข้าข่ายเป็น “อาคาร”

เรื่องรั้วบ้านกับเพื่อนบ้านข้างเคียงที่คุณควรรู้ไว้